ชื่อ นางพูนสุข โพธิ์ชื่น ชั้น / วิชาเอก ป. บัณฑิต การบริหารการศึกษา รุ่นที่ 8 เลขที่ 54
ข้อสอบวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
ข้อสอบข้อที่ 1.
1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบตอบ ในหน่วยงานที่ข้าพเจ้าปฏิบัติหน้าที่ คือ โรงเรียนเจี้ยไช้ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กร โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในโรงเรียน แยกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ในโรงเรียน 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารงานบุคคลทั่วไป ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายธุรการ – การเงิน และฝ่ายกิจการนักเรียน ซึ่งสามารถประยุกต์ระบบสารสนเทศในแต่ละฝ่ายโดยมีกรอบ แนวคิด ขั้นตอนและผลกระทบ ดังนี้
1.1 ฝ่ายบริหารหารงานบุคคลทั่วไป โดยสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์มาบันทึกจัดเก็บข้อมูลของบุคลากรของโรงเรียนการจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนประวัติครู และบุคลากร รวมทั้งพนักงานต่าง ๆ คนงานทั่วไป ซึ่งทำให้ผู้บริหารทราบข้อมูลด้านงานบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นจำนวนบุคลากรแต่ละประเภท วันเข้าทำงาน ประวัติการลา การกระทำความผิด การถูกลงโทษทางวินัย ประวัติการพัฒนาบุคลากรโดยการประชุม อบรม สัมมนา เป็นต้น
1.2 ฝ่ายวิชาการ การจัดทำฐานข้อมูลด้านงานวิชาการเป็นการดำเนินงานที่ยุ่งยากซับซ้อนมากโดยแยกเป็นงานการจัดการเรียนการสอนมีการจัดลงโปรแกรมตารางการจัดการเรียนรู้ของครูแต่ละบุคคล โดยเฉพาะครูจีนอาสาสมัครจากต่างประเทศ ซึ่งมีการจัดชั่วโมงการการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะการสอนของแต่ละคน การจัดทำทะเบียนนักเรียนรวมทั้งผลการเรียนในแต่ละภาคเรียนและแต่ละปี มีการนำข้อมูลต่าง ๆ มาจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา และติดตามงานของผู้บริหารโรงเรียน
1.3 ฝ่ายธุรการ – การเงิน มีการจัดทำฐานข้อมูลของการขอรับเงินอุดหนุนรายหัวของนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 3 ขวบเป็นต้นไป โดยมีการเช็คความถูกต้องกับหมายเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ซึ่งเป็นการยุ่งยากมากจึงต้องนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงเรียน มีการจัดทำระบบเงินเดือนของครู และพนักงานต่าง ๆ ต้องมีการจัดโอนเงินเดือนและเงินพิเศษต่าง ๆ ผ่านธนาคารมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณต่าง ๆ ตามโครงการของโรงเรียน มีการประมวลผลด้านการสั่งซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์ การจัดทำแผนการการจัดหาพัสดุ การจัดระบบบัญชีต่าง ๆ การทำใบเสร็จรับเงิน ใบสั่งสินค้า รายการซื้อ รายการก็จะมีการจัดทำเอกสารรายงานต่าง ๆ แต่อย่างไรก็ตามการประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นนี้อาจไม่ใช่สารสนเทศโดยตรง แต่อาจนำข้อมูลเหล่านี้นำเสนอผู้บริหาร โดยการจัดทำเป็นสารสนเทศ โดยประมวลผลให้ผู้บริหารทราบ มีการใช้จ่ายเงินในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างไร มากหรือน้อยกว่าปีที่ผ่านมาเท่าไร แนวโน้มการใช้จ่ายเงินในการซื้อวัสดุชนิดต่าง ๆ และการซ่อมแซมสิ่งของแต่ละส่วนเป็นอย่างไร โดยอาจจะนำข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้เข้ามาพิจารณาได้
1.4 ฝ่ายกิจกรรม และกิจการนักเรียน มีการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำฐานข้อมูลของนักเรียนในการเลือกกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในส่วนของชุมนุมต่าง ๆ เพื่อที่จะได้เช็คและส่งคะแนนและบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ในส่วนที่เป็นกิจกรรมเช่นกิจกรรมของโรงเรียนการแข่งขันกีฬาภายใน กิจกรรมที่ร่วมมือกับชุมชนทั้งหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนทุกอย่างมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ทั้งนั้นโดยประมวลผลจากแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นของนักเรียนและผู้มาร่วมกิจกรรมในด้านต่าง ๆ เป็นต้น
ขั้นตอน
1. ประชุมเพื่อให้บุคลากรรับทราบนโยบายและเห็นความสำคัญของการใช้สารสนเทศในการบริหารงานขององค์กร
2. จัดทำแผนการใช้สารสนเทศส่วนงานต่าง ๆ เพื่อให้ทราบว่าฝ่ายใดจะใช้สารสนเทศด้านใด เพราะจะได้ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการปฏิบัติงาน
3. ออกแบบการจัดทำฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการทราบข้อมูล
4. มีการทดลองใช้ และปรับปรุง
ข้อสอบข้อที่ 2
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที ( ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นอรรถาธิบายให้แจ้งชัดตอบ เห็นด้วยกับแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2552 - 2556) ของรัฐบาลไทย เพราะจากการวิเคราะห์แผนแม่บทฉบับนี้จะพบว่ามีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาประเทศไทยให้เป็นสังคมที่อุดมด้วยปัญญา การใช้ ICT โดยการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอ ทั้งบุคลากรด้าน ICT และบุคลากรในสาขาอาชีพอื่นๆการพัฒนาโครงข่ายสารสนเทศและการสื่อสารความเร็วสูงการพัฒนาระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีธรรมาภิบาลโดยมีกลไก และกฎระเบียบ โครงการการบริหารและการกำกับดูแล ที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างเป็นการบูรณาการการยกระดับความพร้อมด้าน ICT ของประเทศให้สูงขึ้นในระดับโลกการผลักดันอุตสาหกรรม ICT ให้มีสัดส่วนและมูลค่าเพิ่ม ต่อ ค่าของGDPไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 และการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนอย่างน้อยร้อยละ50 สามารถเข้าถึงและสามารถใช้ระบบ ICT ได้โดยโครงการที่สำคัญได้แก่ การจัดตั้งวิทยาลัย ICT การพัฒนากฎหมายด้าน ICT พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การจัดตั้งวิทยาลัย ICTวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับภาพรวมของประเทศให้มีทิศทางที่แน่ชัด มีการบูรณาการร่วมกันกับหลาย ๆ หน่วยงาน และให้บุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมมีประสบการณ์และเป็นผู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีจำนวนมากขึ้น ให้เพียงพอในการเข้าสู่โลกของธุรกิจด้าน IT ดังนั้น จึงเห็นควรจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ของประเทศขึ้น เพื่อเป็นการศึกษารูปแบบแนวทางการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT ในระดับประเทศ
2. การพัฒนากฎหมายด้าน ICTกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกฎหมาย เพื่อใช้ในการกำกับควบคุมการเผยแพร่สิ่งที่ไม่เหมาะสม เป็นภัยบนอินเทอร์เน็ตมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยของสังคม โดยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีงาม และเพื่อศึกษาวิเคราะห์เทียบเคียงกฎหมายของประเทศที่พัฒนาแล้ว มีแนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่ สิ่งที่ไม่เหมาะสมอันเป็นภัยที่เกิดจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อผลักดันให้มีการยกร่างกฎหมายที่มีเนื้อหาใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการ
3. พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยได้แยกการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมออกจากกัน คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ยังคงบัญญัติหลักการเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ไว้ในมาตรา 47 แต่ได้บัญญัติให้เป็นองค์กรอิสระองค์กรหนึ่ง ทำให้ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์และผลลัพธ์ในแผนแม่บทด้าน ICT ฉบับที่ 2 ( พ.ศ. 2552 – 2554 ) ของรัฐบาลไทย ก็มีสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. พัฒนากำลังคน (ICT Professionals & ICT literate people)
2. บริหารจัดการ ICT อย่างมีธรรมาภิบาล
3. ใช้ ICT เพื่อช่วยสร้างธรรมาภิบาลของรัฐ
4. พัฒนาอุตสาหกรรมของ ICT5. ใช้ ICT ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศนอกจากนี้ยังส่งเสริมการเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป (Open Source) รวมถึงการมีกลไกสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทย สามารถเข้าร่วมโครงการระดับโลกได้ เพื่อสร้างให้เกิดการวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี และทำให้เกิดความเข้มแข็งของบุคลากร ICT ไทย ทั้งนี้เพื่อลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดภาระงบประมาณรายจ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เพิ่มทางเลือกของการใช้ซอฟต์แวร์ พัฒนาฝีมือ ทักษะของโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้งาน และให้มีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์ใหม่
ข้อสอบข้อที่ 3.
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ( กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรมตอบ เห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อินเทอร์เน็ทเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด เพราะเราจะพบว่า ในปัจจุบันการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เข้ามามีบทบาท และยิ่งทวีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับต่อระบบเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็มีแนวโน้มขยายวงกว้างและทวีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้นด้วยโดยขอสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้เป็นด้าน ๆ ดังนี้
1. ความผิดสำหรับแฮคเกอร์ สรุปได้ดังนี้
1.1 เข้าเว็บสาธารณะย่อมไม่มีความผิด แต่ผู้ที่เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่สร้างระบบป้องกันไว้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าเจาะเข้าไปถึงข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ด้วย โทษจะเพิ่มเป็น 2 เท่า
1.2 ผู้ที่เผยรหัส (password)ที่ตัวเองรู้มาสำหรับเพื่อใช้เข้าระบบคอมพิวเตอร์มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน20,000 บาท
1.3 ผู้ที่ดักจับข้อมูลที่เป็นส่วนตัว ซึ่งส่งถึงกันทางอินเทอร์เน็ตทางe-mailมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน60,000 บาท
2. ความผิดสำหรับผู้ปล่อยไวรัส
2.1 ผู้ที่ทำลายข้อมูลหรือไปเปลี่ยนข้อมูลของผู้อื่นไม่ว่าด้วยวิธีการใด จะใช้ไวรัสหรือแอบเข้าไปทำลาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
2.2 การทำลายข้อมูลผู้อื่น ทำให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนประเภทคอมพิวเตอร์ควบคุมจราจร โทษสูงขึ้นเป็น จำคุก 10 ปี ปรับ 200,000 บาท ถ้ากระทบถึงความมั่นคงประเทศ โทษจะสูงขึ้นเป็นจำคุก 3 -15 ปี ถ้าจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจะหนักถึงจำคุก 10 - 20 ปี
3. ความผิดของผู้ที่ก่อกวนหรือแกล้งผู้อื่น 3.1 ผู้ที่ส่งเมล์ก่อกวนหรือโฆษณาขายสินค้าหรือขายบริการ ประเภทไปโผล่ pop up หรือผู้ที่ส่งเมล์ขยะโดยที่ผู้รับไม่ต้องการ มีโทษปรับอย่างเดียว ไม่เกิน 100,000 บาท โทษฐานก่อความรำคาญ
3.2 ผู้ที่ส่งเมล์เป็นข้อมูลปลอม ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายป้ายสีผู้อื่น เป็นข่าวลือ ปล่อยข่าวให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงส่งภาพลามกอนาจารทั้งหลาย รวมถึงผู้ที่ได้รับแล้วส่งต่อด้วย มีโทษเท่ากันคือ จำคุกไมเกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.3 ผู้ที่ตัดต่อภาพของผู้อื่น แล้วนำเข้าเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ท ทำให้เจ้าของภาพเสียหาย อับอาย ต้องโทษจำคุกไม่กิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 600,000 บาท
4. ความผิดของผู้ให้บริการผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องเก็บรวมรวมข้อมูลของผู้ใช้บริการอย่างน้อย 90วัน เพื่อให้สามารถหาตัวผู้ใช้บริการ สำหรับให้ตรวจสอบได้ มิฉะนั้นผู้ให้บริการจะต้องรับโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาทการกระทำความผิดตามกฎหมายนี้ แม้จะกระทำในรอกราชอาณาจักร ไม่ว่าคนไทยหรือคนต่างด้าว ถ้าเกิดความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือต่างประเทศก็ต้องยอมรับโทษตามกฎหมายนี้ด้วยแต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ การกระทำความผิดในระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเทอร์เน็ทนี้จะจับได้อย่างไร ในทางปฏิบัติกฎหมายให้อำนาจเรียกข้อมูลจากผู้ให้บริการหรือเจ้าของเว็บทั้งหลาย รวมทั้งมีอำนาจที่จะเข้าไปติดตาม ตรวจสอบ คัดลอก ในระบบคอมพิวเตอร์ของใครก็ได้ ถ้ามีเหตุอันควรเชื่อถือได้ว่ามีการกระทำความผิด แต่การใช้อำนาจเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นตามกฎหมายฉบับนี้นั้น จะต้องขออนุญาตต่อศาลเสียก่อน จะกระทำโดยพละการไม่ได้ หากเจ้าหน้าที่เปิดเผยข้อมูลที่ใช้อำนาจหน้าที่ไปเจาะข้อมูลมาโดยไม่มีอำนาจ เจ้าหนาที่มีความผิดด้วย โดยต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท และแม้ไม่ได้ตั้งใจจะเปิดเผย แต่ด้วยความประมาททำให้ข้อมูลหลุดเข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ท ก็จะต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ดีมีประโยชน์ เพราะทำให้ประเทศไทยได้ชื่อเสียงว่ามีกฎหมายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับอารยประเทศทั้งหลาย ช่วยป้องปรามให้เกิดการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์น้อยลง และช่วยให้สามารถดำเนินการตามกฎหมายได้รวดเร็วขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ก็ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะๆ และควรมีข้อยกเว้นสำหรับสถานศึกษา ควรมีข้อยกเว้นให้ส่งเบาะแสการกระทำความผิดให้เจ้าหน้าที่ผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้ ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้ครบถ้วนยิ่งขึ้น และควรปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
…………………………………………………………………..............................
ประเพณีมอญร้องไห้
วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ประเพณีมอญร้องไห้
มอญร้องไห้
พิธีกรรมความตายของชาวมอญ
มอญร้องไห้ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ของชาวมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลานต่อผู้ตาย อีกทั้งยังเป็นการรำพันคุณงามความดีของผู้ตาย ที่กระทำไว้เมื่อครั้งยังมีลมหายใจ ผู้ร้องจะใช้ปฏิภาณกวี เนื้อหาที่ร้องนั้นไม่ตายตัว และเป็นภาษามอญทั้งสิ้นประวัติความเป็นมาของ "มอญร้องไห้" นั้น มีผู้กล่าวไว้หลายแห่ง เช่น เสถียรโกเศศ กล่าวถึงในหนังสือประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ในตอนที่เกี่ยวกับความตายไว้ว่า
ต้นเหตุมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงปาฏิหาริย์ให้พระบาททะลุออกมานอกโลง เพื่อให้พระมหากัสสปบูชา ฝ่ายพุทธบริษัทที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ผลต่างร้องไห้กันระงม จึงเป็นประเพณีสืบต่อมา บ้างก็ว่า เป็นการสืบเนื่องมาจากนางมัลลิกา ทรงกันแสงคร่ำครวญ ต่อพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งชาวมอญนั้นนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จึงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อ ๆ มากับภิกษุสงฆ์ จนถึงฆราวาส
ที่มาอีกประการคือ เป็นเรื่องกุศโลบายในการสงครามสมัยพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์มอญที่ ขับเคี่ยวกับพม่าในอดีต ราชบุตรของพระเจ้าราชาธิราช คือพระยาเกียรติถูกพม่าเข้าล้อมเมืองโดยไม่รู้ตัว กำลังทหารรักษาเมืองก็น้อย ไม่สามารถสู้รบกับทหารพม่าที่มีกำลังมากกว่า ได้พยายามส่งข่าวไปให้พระราชบิดามาช่วยก็ไม่สามารถทำได้ ยังมีนายทหารชื่อสมิงอายมนทยา อาสาออกไปส่งข่าวด้วยการนำอุบาย “ นอนตาย ” ไปบนแพหยวกกล้วย ตามร่างการทาด้วยน้ำผึ้ง ข้างกายมีหม้อปลาเน่า ส่งกลิ่นเหม็นทำให้มีแมลงวันมาตอมเหมือนตายจริง ๆ ขณะเดียวกัน ในระหว่างที่เดินออกมา ก็ให้หญิงสาวชาวมอญโกนหัวเดินร้องไห้โหยหวน พลางรำพึงรำพันถึงคุณงามความดีของสามี ที่นอนตายบนแพหยวกกล้วยนั้น ฝ่ายทหารพม่าไม่ได้เฉลียวใจว่าถูกกลลวง ปล่อยให้ขบวนศพที่มีมอญร้องไห้ผ่านไป จนสามารถนำทัพหลวงมาช่วยได้สำเร็จ จึงเป็นประเพณีมอญร้องไห้ไว้อาลัยสืบต่อไป
" มอญร้องไห้ " แบบดั้งเดิมของมอญนั้น นิยมทำกันในช่วงดึกสงัด ระหว่างการตั้งศพบำเพ็ญกุศลและช่วงเช้ามืด อีกช่วงก็คือช่วงชักศพขึ้นเมรุเตรียมฌาปนกิจ แต่เดิมผู้ร้องไห้จะเป็นหญิงสูงอายุซึ่งเป็นญาติกับผู้ตาย การร้องไห้นี้เป็นการร้องที่ไม่มีน้ำตา ได้แต่พรรณนาคุณความดีของผู้ตาย พลางสะอื้นน้อย ๆ เป็นระยะมิได้ฟูมฟายตีอกชกหัว อย่างที่คนยุคหลังนำมาดัดแปลง บางแห่งถึงกับใช้กะเทยแต่งกายเป็นหญิง ร้องพลางกลิ้งตัวลงมาจากเมรุชั้นสูงสุด เพื่อเรียกอารมณ์สะเทือนใจจากแขกที่ร่วมงาน และสิ่งที่ไม่น่าดูอย่างยิ่งก็คือเมื่อผ้าผ่อนท่อนสไบของกะเทยเปิดเปิง ( หากเป็นหญิงยังน่าอภิรมย์ ) กรณีที่ผู้ตายมีฐานะดี ลูกหลานผู้ตายมักหาปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และมีการร้อง “ มอญร้องไห้ ” ประกอบร้องพรรณนาคุณงามความดีของผู้ตาย ด้วยความอาลัยรัก เสียงร้องโหยหวนเข้าบรรยากาศ ยิ่งในสมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องขยายเสียงนั้น เสียงร้องไห้อาจสะเทือนใจพลอยทำให้ผู้ที่ได้ยิน ที่แม้ไม่ใช่ญาติผู้ตายก็อดสะเทือนใจจนร้องไห้ตามไม่ได้ ธรรมเนียม “ มอญร้องไห้ ” ได้มีอิทธิพลแพร่เข้าไปยังราชสำนักไทย จะต้องมีนางร้องไห้ทุกครั้งที่สูญเสียบุคคลในราชตระกูล ธรรมเนียมนางร้องไห้ในวังนี้ คาดว่ามีมาแต่ครั้งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ยกเลิกไปสมัยรัชกาลที่ ๖ เพราะไม่โปรดฯ ด้วยเห็นว่าน่ารำคาญ ร้องไปคนตายก็ไม่ฟื้นมาได้ แต่ในหมู่สามัญชนนั้นก็ยังมีความนิยมไม่เปลี่ยน มาระยะหลังชาวไทยได้ประยุกต์ " มอญร้องไห้ " ใส่บทร้อง และบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญ เรียกว่าแบบตลาด ส่วนเนื้อเพลงนำมาจากเรื่อง “ราชาธิราช” จับตอนสมิงพระรามหนีเมีย โดยก่อนจะหนีก็เขียนจดหมายสอดไว้ใต้หมอนเข้าไปมองหน้าลูกเมียเป็นครั้งสุดท้าย ผู้ที่ร้องเพลงนี้เอาไว้เป็นท่านแรก คือ ครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ ร้องได้สะเทือนอารมณ์ ผู้ฟัง และถือเป็นแม่แบบของเพลงมอญร้องไห้มาจนปัจจุบัน เนื้อความมีดังนี้
“ หยิบกระดาษวาดอักษรชะอ้อนสั่ง น้ำตาหลั่งไหลหยดรดอักษร แล้วสอดไว้ใต้เขนยที่เคยนอน พิศพักตร์ทอดถอนหฤทัย ค่อยตระโบมโลมลูบจูบสั่งลา นางจะรู้ก็ยาก็หาไม่
หักจิตออกนอกห้องทันใด ขึ้นม้าควบหนีไปมิได้ช้า ”
__________________
“ ปัญญาเปรียบเสมือน เครื่องประดับแห่งตน ”
พิธีกรรมความตายของชาวมอญ
มอญร้องไห้ เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ของชาวมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลานต่อผู้ตาย อีกทั้งยังเป็นการรำพันคุณงามความดีของผู้ตาย ที่กระทำไว้เมื่อครั้งยังมีลมหายใจ ผู้ร้องจะใช้ปฏิภาณกวี เนื้อหาที่ร้องนั้นไม่ตายตัว และเป็นภาษามอญทั้งสิ้นประวัติความเป็นมาของ "มอญร้องไห้" นั้น มีผู้กล่าวไว้หลายแห่ง เช่น เสถียรโกเศศ กล่าวถึงในหนังสือประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิต ในตอนที่เกี่ยวกับความตายไว้ว่า
ต้นเหตุมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ทรงปาฏิหาริย์ให้พระบาททะลุออกมานอกโลง เพื่อให้พระมหากัสสปบูชา ฝ่ายพุทธบริษัทที่ยังไม่บรรลุอรหันต์ผลต่างร้องไห้กันระงม จึงเป็นประเพณีสืบต่อมา บ้างก็ว่า เป็นการสืบเนื่องมาจากนางมัลลิกา ทรงกันแสงคร่ำครวญ ต่อพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งชาวมอญนั้นนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด จึงได้ยึดถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบต่อ ๆ มากับภิกษุสงฆ์ จนถึงฆราวาส
ที่มาอีกประการคือ เป็นเรื่องกุศโลบายในการสงครามสมัยพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์มอญที่ ขับเคี่ยวกับพม่าในอดีต ราชบุตรของพระเจ้าราชาธิราช คือพระยาเกียรติถูกพม่าเข้าล้อมเมืองโดยไม่รู้ตัว กำลังทหารรักษาเมืองก็น้อย ไม่สามารถสู้รบกับทหารพม่าที่มีกำลังมากกว่า ได้พยายามส่งข่าวไปให้พระราชบิดามาช่วยก็ไม่สามารถทำได้ ยังมีนายทหารชื่อสมิงอายมนทยา อาสาออกไปส่งข่าวด้วยการนำอุบาย “ นอนตาย ” ไปบนแพหยวกกล้วย ตามร่างการทาด้วยน้ำผึ้ง ข้างกายมีหม้อปลาเน่า ส่งกลิ่นเหม็นทำให้มีแมลงวันมาตอมเหมือนตายจริง ๆ ขณะเดียวกัน ในระหว่างที่เดินออกมา ก็ให้หญิงสาวชาวมอญโกนหัวเดินร้องไห้โหยหวน พลางรำพึงรำพันถึงคุณงามความดีของสามี ที่นอนตายบนแพหยวกกล้วยนั้น ฝ่ายทหารพม่าไม่ได้เฉลียวใจว่าถูกกลลวง ปล่อยให้ขบวนศพที่มีมอญร้องไห้ผ่านไป จนสามารถนำทัพหลวงมาช่วยได้สำเร็จ จึงเป็นประเพณีมอญร้องไห้ไว้อาลัยสืบต่อไป
" มอญร้องไห้ " แบบดั้งเดิมของมอญนั้น นิยมทำกันในช่วงดึกสงัด ระหว่างการตั้งศพบำเพ็ญกุศลและช่วงเช้ามืด อีกช่วงก็คือช่วงชักศพขึ้นเมรุเตรียมฌาปนกิจ แต่เดิมผู้ร้องไห้จะเป็นหญิงสูงอายุซึ่งเป็นญาติกับผู้ตาย การร้องไห้นี้เป็นการร้องที่ไม่มีน้ำตา ได้แต่พรรณนาคุณความดีของผู้ตาย พลางสะอื้นน้อย ๆ เป็นระยะมิได้ฟูมฟายตีอกชกหัว อย่างที่คนยุคหลังนำมาดัดแปลง บางแห่งถึงกับใช้กะเทยแต่งกายเป็นหญิง ร้องพลางกลิ้งตัวลงมาจากเมรุชั้นสูงสุด เพื่อเรียกอารมณ์สะเทือนใจจากแขกที่ร่วมงาน และสิ่งที่ไม่น่าดูอย่างยิ่งก็คือเมื่อผ้าผ่อนท่อนสไบของกะเทยเปิดเปิง ( หากเป็นหญิงยังน่าอภิรมย์ ) กรณีที่ผู้ตายมีฐานะดี ลูกหลานผู้ตายมักหาปี่พาทย์มอญมาบรรเลง และมีการร้อง “ มอญร้องไห้ ” ประกอบร้องพรรณนาคุณงามความดีของผู้ตาย ด้วยความอาลัยรัก เสียงร้องโหยหวนเข้าบรรยากาศ ยิ่งในสมัยก่อนที่ยังไม่มีเครื่องขยายเสียงนั้น เสียงร้องไห้อาจสะเทือนใจพลอยทำให้ผู้ที่ได้ยิน ที่แม้ไม่ใช่ญาติผู้ตายก็อดสะเทือนใจจนร้องไห้ตามไม่ได้ ธรรมเนียม “ มอญร้องไห้ ” ได้มีอิทธิพลแพร่เข้าไปยังราชสำนักไทย จะต้องมีนางร้องไห้ทุกครั้งที่สูญเสียบุคคลในราชตระกูล ธรรมเนียมนางร้องไห้ในวังนี้ คาดว่ามีมาแต่ครั้งต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ยกเลิกไปสมัยรัชกาลที่ ๖ เพราะไม่โปรดฯ ด้วยเห็นว่าน่ารำคาญ ร้องไปคนตายก็ไม่ฟื้นมาได้ แต่ในหมู่สามัญชนนั้นก็ยังมีความนิยมไม่เปลี่ยน มาระยะหลังชาวไทยได้ประยุกต์ " มอญร้องไห้ " ใส่บทร้อง และบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์มอญ เรียกว่าแบบตลาด ส่วนเนื้อเพลงนำมาจากเรื่อง “ราชาธิราช” จับตอนสมิงพระรามหนีเมีย โดยก่อนจะหนีก็เขียนจดหมายสอดไว้ใต้หมอนเข้าไปมองหน้าลูกเมียเป็นครั้งสุดท้าย ผู้ที่ร้องเพลงนี้เอาไว้เป็นท่านแรก คือ ครูเหนี่ยว ดุริยพันธ์ ร้องได้สะเทือนอารมณ์ ผู้ฟัง และถือเป็นแม่แบบของเพลงมอญร้องไห้มาจนปัจจุบัน เนื้อความมีดังนี้
“ หยิบกระดาษวาดอักษรชะอ้อนสั่ง น้ำตาหลั่งไหลหยดรดอักษร แล้วสอดไว้ใต้เขนยที่เคยนอน พิศพักตร์ทอดถอนหฤทัย ค่อยตระโบมโลมลูบจูบสั่งลา นางจะรู้ก็ยาก็หาไม่
หักจิตออกนอกห้องทันใด ขึ้นม้าควบหนีไปมิได้ช้า ”
__________________
“ ปัญญาเปรียบเสมือน เครื่องประดับแห่งตน ”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)